ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

สังสารวัฏ คือปฏิจจสมุปบาทเป็นปัจจัยกัน



กลุ่มไตรปิฎกสิกขา

อีกอย่างหนึ่ง สังสารวัฏมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า
“สังสารจักร. ก็อวิชชาเป็นดุมของสังสารจักรนั้น
เพราะเป็นมูลเหตุ
, มีชรามรณะเป็นกง เพราะเป็นที่สุด,
ธรรม
๑๐ อย่างที่เหลือเป็นกำ เพราะมีอวิชชาเป็นมูลเหตุ และเพราะมีชรามรณะเป็นที่สุด.
บรรดาธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั้น
ความไม่รู้ในอริยสัจมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา.
ก็อวิชชาในกามภพ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในกามภพ.
อวิชชาในรูปภพ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในรูปภพ.
อวิชชาในอรูปภพ เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในอรูปภพ
.
สังขารในกามภพ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญาณในกามภพ.
ในรูปภพและอรูปภพ
ก็นัยนี้.
ปฏิสนธิวิญญาณในกามภพ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูปในกามภพ.
ในรูปภพ
ก็อย่างนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว ในอรูปภพ.
นามรูปในกามภพเป็นปัจจัยแก่อายตนะ
ในกามภพ.
นามรูปในรูปภพ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่อายตนะทั้ง ในรูปภพ.
นามในอรูปภพ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่อายตนะอย่างเดียว ในอรูปภพ.
อายตนะ
ในกามภพ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ อย่าง ในกามภพ.
อายตนะในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ ผัสสะในรูปภพ.
อายตนะในรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ ผัสสะในอรูปภพ.
ผัสสะ
ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๖ ในกามภพ.
ผัสสะในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ ผัสสะในรูปภพนั้นนั่นเอง.
ผัสสะ
ในอรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา ในอรูปภพนั้นนั่นเอง.
เวทนา
ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ในกามภพ.
เวทนา
๓ ในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ในรูปภพนั้นนั่นเอง.
เวทนา
ในอรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ในอรูปภพ.
ตัณหานั้น
ในกามภพเป็นต้นนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้น .
อุปาทานเป็นต้น
ย่อมเป็นปัจจัยแก่ภพเป็นต้น.

คืออย่างไร? คือว่า คนบางคนในโลกนี้คิดว่า จักบริโภคกาม
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ
เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย
เพราะความเต็มรอบแห่งทุจริต เขาย่อมเกิดในอบาย.
กรรมเป็นเหตุเกิดในอบายนั้นของบุคคลนั้น
เป็นกรรมภพ,
ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย
เป็นชาติ, ความแก่หง่อม เป็นชรา,
ความแตกทำลาย
เป็นมรณะ.

อีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในสวรรค์ ประพฤติสุจริตอย่างนั้นเหมือนกัน
เพราะความบริบูรณ์แห่งสุจริต
เขาย่อมเกิดในสวรรค์.
คำว่า กรรมเป็นเหตุเกิดในสวรรค์นั้นของเขา
เป็นกรรมภพเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกันนั้น.

ส่วนอีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในพรหมโลก ย่อมเจริญเมตตา
เจริญกรุณา
มุทิตา อุเบกขา เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย เขาย่อมเกิดในพรหมโลก
เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา
. คำว่า กรรมเป็นเหตุเกิดในพรหมโลกนั้นของเขา
เป็นกรรมภพเป็นต้น
ก็มีนัยเหมือนกันนั้น.

อีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในอรูปภพ จึงเจริญสมาบัติทั้งหลาย
มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น อย่างนั้นนั่นแล
เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา
เขาย่อมเกิดในอรูปภพนั้น
กรรมเป็นเหตุเกิดในอรูปภพนั้นของเขา เป็นกรรมภพ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรม
เป็นอุปบัติภพ, ความเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นชาติ,
ความแก่หง่อม
เป็นชรา, ความแตกทำลาย เป็นมรณะแล.
ในโยชนาทั้งหลาย แม้มีอุปาทานที่เหลือเป็นมูลก็นัยนี้
.

(เวรัญชกัณฑ์วรรณา ว่าด้วยพุทธคุณ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP