ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

การด่าพระอริยเจ้าห้ามสวรรค์และห้ามมรรค



กลุ่มไตรปิฎกสิกขา

คำว่า ติเตียนพระอริยเจ้า (อริยานํ อุปวาทกา) ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเห็นผิด
เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
กล่าวใส่ร้าย มีคำอธิบายว่า
ด่าทอ
ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวกของพระพุทธเจ้า
โดยที่สุด แม้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบัน
ด้วยอันติมวัตถุ
หรือด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ.

ในการกล่าวใส่ร้าย อย่างนั้น บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า “สมณธรรมของท่านเหล่านี้ ไม่มี,
ท่านเหล่านั้น
ไม่ใช่สมณะ” พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้ายด้วยอันติมวัตถุ.
บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า
“ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ของท่านเหล่านี้ ไม่มี”
พึงทราบว่า
ชื่อว่ากล่าวใส่ร้ายด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ.
ก็ผู้นั้นพึงกล่าวใส่ร้ายทั้งที่รู้ตัวอยู่
หรือไม่รู้ก็ตาม ย่อมชื่อว่า
เป็นผู้กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าแท้
แม้โดยประการทั้ง ๒.
กรรม
(คือการกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า) เป็นกรรมหนัก
เป็นทั้งสัคคาวรณ์
(ห้ามสวรรค์) ทั้งมัคคาวรณ์ (ห้ามมรรค).


เรื่องภิกษุหนุ่มกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าชั้นสูง

ก็เพื่อประกาศข้อที่การด่าเป็นกรรมที่หนักนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์
ดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่ง และภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง.
ท่านทั้ง
นั้น ได้ข้าวยาคูร้อนประมาณกระบวยหนึ่งในเรือนหลังแรกนั่นเอง.
แต่พระเถระเกิดลมเสียดท้องขึ้น
. ท่านคิดว่า ข้าวยาคูนี้ เป็นของสบายแก่เรา
เราจะดื่มข้าวยาคูนั้นก่อนที่มันจะเย็นเสีย
ท่านจึงได้นั่งดื่มข้าวยาคูนั้นบนขอนไม้
ซึ่งพวกมนุษย์เข็นมาไว้เพื่อต้องการทำธรณีประตู
.
ภิกษุหนุ่มนอกนี้
ได้รังเกียจพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า พระเถระแก่รูปนี้หิวจัดหนอ
กระทำให้เราได้รับความอับอาย
. พระเถระเที่ยวไปในบ้านแล้วกลับไปยังวิหาร
ได้พูดกะภิกษุหนุ่มว่า
“อาวุโส ที่พึ่งในพระศาสนานี้ของคุณมีอยู่หรือ ?
ภิกษุหนุ่ม
เรียนว่า “มีอยู่ ขอรับ กระผมเป็นพระโสดาบัน.
พระเถระ
พูดเตือนว่า “อาวุโส ถ้ากระนั้น คุณไม่ได้ทำความพยามยาม
เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ
? เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว.
ภิกษุหนุ่มรูปนั้น
ได้ให้พระเถระนั้นอดโทษแล้ว
เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นของภิกษุหนุ่มรูปนั้น
ก็ได้กลับเป็นปกติเดิมแล้ว.


วิธีขอขมาเพื่อให้อดโทษในการด่าใส่ร้าย

เพราะฉะนั้น ผู้ใดแม้อื่น กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า อันผู้นั้น ถ้ามีตนแก่กว่าไซร้,
พึงไปให้ท่านอดโทษให้
ด้วยเรียนท่านว่า
“กระผมได้กล่าวคำนี้และคำนี้กะท่านผู้มีอายุแล้ว
ขอท่านได้อดโทษนั้นให้กระผมด้วยเถิด.”
ถ้าตนอ่อนกว่าไซร้
ไหว้ท่านแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี พึงขอให้ท่านอดโทษให้
ด้วยเรียนท่านว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้กล่าวคำนี้และคำนี้กะท่านแล้ว
ขอท่านจงอดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.”
ถ้าท่านยังไม่ทันอดโทษให้
หรือท่านหลีกไปยังทิศ (อื่น) เสีย
พึงไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารนั้น
.
ถ้ามีตนแก่กว่าไซร้
พึงยืนขอขมาโทษทีเดียว
ถ้าตนอ่อนกว่าไซร้
ก็พึงนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ให้ท่านช่วยอดโทษให้,
พึงกราบเรียนให้ท่านอดโทษอย่างนี้ว่า

“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
กระผมได้กล่าวคำนี้และคำนี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้นแล้ว
ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้น
จงอดโทษให้แก่กระผมด้วยเถิด.”
ถ้าพระอริยเจ้านั้นปรินิพพานแล้วไซร้
, ควรไปยังสถานที่ตั้งเตียงที่ท่านปรินิพาน
แม้ไปจนถึงป่าช้าแล้ว
พึงให้อดโทษให้. เมื่อตนได้กระทำแล้วอย่างนี้
กรรมคือการใส่ร้ายนั้น
ก็ไม่เป็นทั้งสัคคาวรณ์ทั้งมัคคาวรณ์ (ไม่ห้ามทั้งสวรรค์ทั้งมรรค)
ย่อมกลับเป็นปกติเดิมทีเดียว
.


การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม

คำว่า เป็นมิจฉาทิฎฐิ (มิจฺฉาทิฏฺฐิกา) ได้แก่ มีความเห็นวิปริต.
คำว่า ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฎฐิ (มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทานา)

ความว่า
ก็คนเหล่าใด ให้ชนแม้เหล่าอื่นสมาทาน บรรดากรรมมีกายกรรมเป็นต้น
ซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล
. คนเหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมนานาชนิดอันตนสมาทานถือเอาแล้ว
ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
. ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น
แม้เมื่อท่านสงเคราะห์อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง
และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์เช่นกันแล้ว

การกล่าวถึงกรรมทั้ง
เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า
มีการแสดงถึงข้อที่กรรมทั้ง
นั้นมีโทษมากเป็นผล.
จริงอยู่
อริยุปวาท มีโทษมากเช่นกับอนันตริยกรรม.
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

“สารีบุตรเปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงสำเร็จอรหัตผลในภพปัจจุบันนี้แล
แม้ฉันใด,
สารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้
ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย
ไม่ละความคิดนั้นเสีย
ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก
(เพราะอริยุปวาท) เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น.
ก็กรรมอย่างอื่น
ชื่อว่ามีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิ ย่อมไม่มี.
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย
เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น
ซึ่งมีโทษมากกว่า เหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย

ภิกษุทั้งหลาย
โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.”

คำว่า เพราะกายแตก (กายสฺส เภทา) ความว่า
เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย
(ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).
คำว่า
เบื้องหน้ามีแต่ตาย (ปรมฺมรณา) ความว่า
แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งการสละนั้น
.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เพราะกายแตก (กายสฺส เภทา) คือ
เพราะความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์
.
คำว่า
เบื้องหน้าแต่ตาย (ปรมฺมรณา) คือต่อจากจุติจิต.


หมายเหตุ ๑. วิสุทฺธิมคฺค. ภาค /๓๓๒ - มีดังนี้คือ
กสฺมา
ภนฺเตติ. ขีณาสโว ตยา อุปวทิโตติ. แปลว่า ภิกษุหนุ่มเรียนว่า เพราะเหตุไร ขอรับ?
พระเถระพูดว่า
เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว.
กสฺมา
ภนฺเตติ ไม่มีในสามนต์.
๒. ม.มู. ๑๒/๑๖๗/๑๔๕.
๓. องฺ.ติก. ๒๐/๑๙๓/๔๔.


(เวรัญชกัณฑ์วรรณา พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP