เติมธรรมในทำนอง Lite Melody

I wish I knew how it would feel to be free


melody_banner

 

โดย aston27
I wish I knew how it would feel to be free อันเสรีดีอย่างไรฉันใคร่รู้
I wish I could break all the chains holding me เพราะต้องอยู่กับตรวนล่ามช่างขวากเข็ญ
I wish I could say all the things that I should say อยากได้กล่าวเล่าความตามที่เป็น
say 'em loud, say 'em clear ให้โลกเห็นหวนประหวัดทัศนา

for the whole round world to hear.

 
   
I wish I could share all the love that's in my heart อันความรักในใจฉันใคร่แบ่ง
remove all the bars that keep us apart ช่วยลดแรงแข่งจิตริษยา
I wish you could know what it means to be me หวังผู้คนเห็นดีงามตามตำรา
Then you'd see and agree ทั่วพาราทุกแห่งหนชนเสรี

that every man should be free.

 
   
I wish I could give all I'm longing to give อยากวาดฝันปันแจกได้ดังใจคิด
I wish I could live like I'm longing to live มีชีวิตอิสระพร้อมศักดิ์ศรี
I wish that I could do all the things that I can do ทำได้จริงทุกสิ่งฝันทุกวันปี
though I'm way overdue I'd be starting anew. ถึงแม้นมีขวากหนามจะข้ามพลัน


 
Well I wish I could be like a bird in the sky คงสุขสันต์หากได้เป็นเช่นปักษิน
how sweet it would be if I found I could fly ได้เหิรบินในเวหาช่างน่าฝัน
Oh I'd soar to the sun and look down at the sea จะเที่ยวท่องทั่วสมุทรสุริยัน
and I'd sing cos I'd know that จะขานขันบรรเลงบทเพลงเอย

I'd know how it feels to be free

 


เพลงข้างบนนี้มีชื่อยาวเหยียดเฉียดๆวา ว่า I wish I knew how it would feel to be free
เป็นผลงานการประพันธ์ของนักดนตรีแจ๊สนามว่า บิล เทย์เลอร์ และ ริชาร์ด แลมบ์ บันทึกเสียงครั้งแรก
โดยนีน่า ซิโมน (Nina Simone) ไว้ในอัลบั้มชื่อ Silk and Soul ของเธอที่ออกวางจำหน่ายในปี ๑๙๖๗
ตรงกับพุทธศักราช ๒๕๑๐ หรือกว่า ๔๒ ปีมาแล้ว

บิล เทย์เลอร์ เคยเล่าไว้ว่า เขาตั้งใจแต่งเพลงนี้ เพื่ออุทิศให้กับลูกสาวที่ชื่อ คิม เทย์เลอร์
และบอกว่านี่เป็นผลงานที่มีคนรู้จักมากที่สุด รวมทั้งเป็นหนึ่งในผลงานที่เขาชื่นชอบมากที่สุดที่เคยทำมา

 

เล่าความตามประวัติของนีน่า ซิโมน นี่อาจจะไม่ใช่เพลงที่ฮิตหรือโด่งดังที่สุดของเธอ แต่
เพลงนี้กลับเป็นเพลงที่บอกเล่าความรู้สึกจากส่วนลึกของเธอได้ดีที่สุดเพลงหนึ่ง

 

นิน่า ซิโมน เกิดที่เมือง ไทรออน มลรัฐนอร์ท ดาโกต้า ในครอบครัวที่ยากจนที่มีลูกถึง ๘ คน
ชื่อเดิมในสำมะโนครัวเธอมีชื่อว่า ยูจีน แคทเธอรีน เวย์มอนด์ (Eugene Catherine Waymon) พ่อเธอ
เป็นทั้งช่างตัดผมและสารพัดช่างแต่สุขภาพไม่สู้ดีนัก แม่เธอทำงานเป็นแม่บ้านทำความสะอาดตามบ้าน
คนมีสตางค์

 

และเป็นนายจ้างของแม่เธอนี่เอง ที่บังเอิญได้ยินนิน่าเล่นเปียนโนในโบสถ์ และสังเกตเห็น
พรสวรรค์ในตัวเด็กหญิงยูจีน วัย ๓ ขวบคนนี้ เลยออกทุนให้เธอได้เรียนเปียนโน และในเวลาต่อมามีการ
เรี่ยไรทุนจากชาวบ้านในชุมชน ให้ลงขันส่งเด็กหญิงยูจีน หรือนิน่า ซิโมน ในเวลาต่อมา ให้ได้เรียนจนถึง
อายุ ๑๗

ตอนเธออายุ ๑๒ ปี เธอเปิดการแสดงเปียนโนคอนเสิร์ตครั้งแรก ระหว่างที่แสดงอยู่ พ่อแม่
ของเธอที่นั่งอยู่แถวหน้า ถูกเชิญกึ่งบังคับให้ย้ายไปนั่งด้านหลังของสถานที่แสดง เพื่อเปิดโอกาสให้คน
ผิวขาวได้นั่งหน้าแทน นิน่าจึงประท้วงไม่ยอมแสดงต่อ จนกระทั่งพ่อแม่ของเธอได้ย้ายกลับมานั่งที่เดิม

แต่ปัญหาการเหยียดผิวที่เธอเจอกับตัวเองเป็นครั้งแรกในชีวิต คือสมัยที่เธอย้ายไปเรียนต่อ
ที่ฟิลาเดลเฟีย เพนซิลเวเนีย และไปสมัครสอบเพื่อขอรับทุนการศึกษา ซึ่งเธอทำคะแนนทดสอบได้
อย่างยอดเยี่ยมแต่ถูกปฏิเสธคำขอรับทุน ด้วยเหตุผลเดียวที่เธอได้ยินเต็มสองหูว่า “Because you are
black”

นิน่า ซิโมน จึงอุทิศตัวเอง ไม่ใช่เพียงเพื่อการยอมรับในฐานะศิลปินนักร้องที่มีความสามารถ
สูง และเปี่ยมด้วยพลังทุกครั้งที่ออกแสดง แต่เธอยังอุทิศตัวเป็นผู้คัดค้านการเหยียดผิวชั้นแนวหน้าคน
หนึ่งของอเมริกา

 

มนุษย์เรา ไม่ว่าจะชาติเผ่าสีผิวใด ล้วนแล้วแต่ต้องการอิสระในการใช้ชีวิต คิดอ่าน น่าแปลกที่
มนุษย์ที่มีอิสระทางความคิด และการใช้ชีวิต มักจะสร้างพันธนาการบางอย่างที่มองไม่เห็นขึ้นมาให้
ตัวเอง เช่นกำหนดเรื่องชนชั้น เรื่องสิทธิ เรื่องสี เรื่องสถาบัน เรื่อยไปจนถึงพันธนาการที่เนื่องมาจาก
กิเลสของตัวเอง และอัตตาตัวตน

ในทางโลกเราวัดระดับปัญญาด้วยปริญญาที่ติดบนฝา แต่ในทางพุทธ เราถือว่าบุคคลที่มี
ปัญญามาก คือบุคคลที่รู้ทันกิเลสตัวเอง และเห็นความจริงว่าด้วยอัตตาตัวตนมาก เพราะยิ่งอัตตาเยอะ
ทุกข์ก็แยะตาม ยิ่งมีปัญญาในทางพุทธมากเท่าไหร่ จิตถึงจะมีอิสระมากเท่านั้น จิตมีอิสระเท่าไหร่ ทุกข์
ทางใจเราก็จะน้อยลงเท่านั้น

วิธีการเรียนรู้จักตัวเองเพื่อจิตที่มีอิสระได้ในที่สุด เราเรียกว่า “วิปัสสนา” ครับ



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP