ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

ปัพพชิตสูตร ว่าด้วยจิตของบรรพชิตที่ได้รับการอบรมดีแล้ว ย่อมได้รับผล ๒ อย่าง


กลุ่มไตรปิฎกสิกขา



[๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วตามสมควรแก่บรรพชา
อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ตรึงจิตตั้งอยู่ คือ
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความประพฤติชอบ และ
ความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว
ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว
ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยปหานสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ๑
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.


ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วตามสิ่งสมควรแก่บรรพชา
อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ คือ
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความประพฤติชอบ และ
ความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว
ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว
ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยปหานสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา ๑
จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ๑
เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.


ปัพพชิตสูตร จบ



(ปัพพชิตสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๘)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP