ดังตฤณวิสัชนา Dungtrin's Answer

หากต้องร่วมงานกับคนเจ้าอารมณ์ ควรวางใจอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์



ถาม – ดิฉันไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อน แต่ว่าจะต้องรับมือกับคนเจ้าโทสะในที่ทำงาน
ควรคิดอย่างไรให้ไม่ต้องร้อนรนไปตามเขาคะ



มันไม่สามารถที่จะปรับได้ด้วยความคิดนะ
ถ้าจะต้องอยู่ท่ามกลางคนเจ้าอารมณ์จริงๆ
มีทางเดียวคือเราจะต้องเจริญเมตตา
จะต้องทำให้จิตของเราเป็นที่ตั้งของความเยือกเย็นให้ได้ก่อน
มันต้องค่อยๆ สั่งสมไป แล้วจากนั้นเวลาที่ไปเจอเขา มันต้องเปรียบเทียบให้ทัน
คือมันมีสองชั้นนะ สองลำดับขั้น
ขั้นแรกสร้างความเย็นในตัวเราให้ได้ก่อน
สร้างความเมตตาจริง ๆ ในตัวเราให้ได้ก่อน
จะด้วยการสวดมนต์ จะด้วยการแผ่เมตตา
จะด้วยการนั่งสมาธิหรืออะไรก็แล้วแต่
จนกระทั่งใจของเราเกิดความรู้สึกถึงความเย็น
เกิดความรู้สึกว่าเป็นที่ตั้งของความเย็น



พอไปเจอเขา เราต้องมีสติให้ทันด้วย
ว่าฝั่งของเขามีความกระวนกระวาย มันจะเห็นเลยนะ
คือยิ่งจิตของเราว่างขึ้นเท่าไหร่ มีความเยือกเย็นขึ้นเท่าไหร่
มันจะเห็นเป็นคอนทราสต์ (
contrast) ตัวความแตกต่างอย่างชัดเจน
ว่าของเราเย็น ของเขาร้อน ของเราสงบๆ อยู่ นิ่ง ๆ อยู่ เนียน ๆ อยู่
ของเขากระวนกระวายเหมือนกับมีคลื่นอะไรปุ๊บปั๊บๆ ดิ้นพล่านอยู่ตลอด
บางทีถึงแม้ว่ายังไม่ได้ฝึกมา
ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ไปเข้าใกล้คนเจ้าโทสะเจ้าอารมณ์บางคน
มองไปมันเหมือนมีอะไรดิ้นๆ อยู่ข้างในตัวเขา
เหมือนกับมีสิ่งมีชีวิตที่ชั่วร้ายอะไรบางอย่างมันเต้นพล่านอยู่ข้างใน
เราเห็น มันไม่ได้เห็นด้วยตาเปล่าแบบเหมือนกับมีรูปทรง แต่รู้สึกว่าเราเห็นอยู่จริงๆ


เช่นกันถ้าหากว่าใจของเราเย็นแล้วและรู้สึกถึงความร้อนในเขา
ใจของเรานิ่งแล้วและรู้สึกถึงความดิ้นพล่านในเขา
มันจะได้ข้อแตกต่าง เห็นความแตกต่าง
แต่ถ้าจิตเราใกล้เคียงกับเขานะ คือพร้อมที่จะโมโหเหมือนเขา
หรือว่าพร้อมที่จะร้อนได้เท่ากับเขา หรือไล่เลี่ยกับเขา






ถาม - ดิฉันก็พยายามยั้งตัวเองไว้ เพราะถ้าไปเถียงกับเขามันจะเหมือนน้ำมันราดกองไฟ
แต่ก็รู้สึกว่าข้างในใจนี่ร้อนขึ้นมากๆ



อันนั้นเป็นเรื่องรายละเอียดที่ว่าถ้าเราไปโต้เถียงเขาหรือว่าไปอะไร
แต่ที่ผมพูดถึงนี่กำลังพูดถึงภาวะทางใจที่เราสามารถสัมผัสได้ตั้งแต่เริ่มต้น
อย่างลองดู สวดมนต์บ่อยๆ เลยนะ สวดอิติปิโส
อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สวดวันละสักสามจบเจ็ดจบ
แต่ละจบ ดูว่าบอกตัวเองว่ารอบนี้เรามีความฟุ้งซ่านแค่นี้
อีกรอบหนึ่งเรามีความฟุ้งซ่านน้อยลงหรือว่ามากขึ้น
เปรียบเทียบไปเป็นรอบๆ มันจะได้เปรียบเทียบกับตัวเองก่อน
ฝึกเปรียบเทียบกับตัวเองก่อนว่าจิตมีความดิ้นพล่านมากน้อยแค่ไหน
พอสามารถสังเกตได้ออก มันก็จะไปใช้ไปประยุกต์ตอนอยู่ต่อหน้าเขาได้เช่นกัน


คือเมื่ออยู่กับเขา เราจะรู้สึกทันทีเลยว่าของเราเย็นกว่า
ทั้งๆ ที่บางทีมันอาจจะไม่ได้เย็นแบบสงบนิ่งทีเดียวนะ
แต่อย่างน้อยเรารู้สึกถึงความต่าง ฝั่งเรามันมีความรู้สึกอยู่อย่างนี้
ฝั่งเขามันมีความรู้สึกอยู่อีกอย่างหนึ่งเป็นขั้วตรงข้าม
ทีนี้พอมันเริ่มร้อน เริ่มเครื่องร้อน เขาก็จะมีอาการเร่งๆ ขึ้นมา
เราก็จะรู้สึกได้ว่ามันร้อนมากขึ้น เราก็สำรวจใจตัวเอง
ถ้าหากว่าร้อนตามเขา ความเย็นมันจะเสียไป
เห็นเป็นภาพทางใจนะ ของเขามันเร่งๆ ของเรามันเร่งตามหรือเปล่า
ถ้าหากว่าเราตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกว่าจะดู
เปรียบเทียบว่าของเราเย็นกว่าเขาแค่ไหน มันจะมีแก่ใจนะ
คือมีแก่ใจที่จะรู้สึกเข้ามาว่าของเราสงบได้มากกว่าเขาไหม เราดิ้นตามเขาไหม
แล้วมันจะเกิดความชอบใจ เมื่อเกิดความรู้สึกว่าเรายังเย็นอยู่
ไม่ได้ดิ้นตามเขา เข้าใจเป็นช็อตๆ (
shot) นะ


ส่วนเรื่องที่ว่าจะพูดจาคัดง้างอะไร หรือว่าให้เหตุผลอะไรอย่างไร
อันนั้นเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่พ้นไปจากเรื่องของใจแล้ว
คือการให้เหตุผลมันเป็นไปตามสถานการณ์ที่เหมาะที่ควรที่เรารู้อยู่
แต่เรื่องทางใจ ตรงนี้ที่ไม่มีใครชี้ให้ดูเท่าไหร่
แล้วเราอาจจะเหมือนกับบางทีมันไม่รู้จะรู้ตรงไหน ถึงจะเรียกว่าการเจริญสติ
แต่ตัวนี้เมื่อเราเปรียบเทียบอยู่ว่าของเราเย็น ของเขาร้อน
ของเรากำลังนิ่งอยู่ ของเขากำลังดิ้นพล่าน แล้วเห็นว่าของเราไม่ได้ดิ้นตามเขา

เรียกว่าสติมันเจริญขึ้นแล้ว เพราะมันรู้ถึงภาวะที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
คือไม่ได้จินตนาการเอา ไม่ได้คิดเอาว่าควรจะให้จิตเป็นอย่างไร
แต่ยอมรับตามจริงว่าถ้าจิตของเราดิ้นตามเขา เครื่องร้อนตามเขา
เรายอมรับ แล้วพอมันเริ่มแผ่วลงมา หรือว่ารู้สึกดีนะที่มันไม่ต้องเร่งตามเขา
ตรงนี้เรียกว่าของจริง ไม่ใช่ใช้จินตนาการ



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP