จากใจ บ.ก.ใกล้ตัว Lite Talk

ฉบับที่ ๑๗ ไดอารี่ระดับโลก


dlite_27

หลายคนรู้สึกว่าตนบ้าบันทึกเรื่องส่วนตัว
ใช้ไดอารี่เปลือง
และมักคิดเสมอว่าจะมีใครในโลก
ที่เขียนเรื่องของตัวเองไว้มากเท่านี้อีกไหม

ถ้านึกว่าคุณเป็นนักบันทึกไดอารี่ตัวฉกาจคนหนึ่งของโลก
ลองอ่านเรื่องของนายคนนี้ดูครับ
จะรู้สึกว่านักบันทึกระดับโลกจริงๆ
เขาเสพติดไดอารี่เข้าขั้นคลั่งไคล้ผิดมนุษย์ขนาดไหน

ผมเจอไดอารี่ของเขาสมัยเรียนมหาวิทยาลัย
เห็นแวบแรกนึกว่าเป็นชุดเอ็นไซโคลปิเดีย
เพราะทั้งชั้นของตู้ใหญ่ๆเป็นไดอารี่ของเขาล้วนๆ
เปิดๆอ่านดูครั้งแรกคุณคงแทบอ้าปากค้างเหมือนผม

เขาคนนี้มีนามว่า
เอ็ดเวิร์ด รอบบ์ เอลลิส (
Edward Robb Ellis)
มีอาชีพหลักเป็นนักข่าวในนิวยอร์กครับ
แต่งานหลักไม่ได้ทำให้เขาดังไปกว่างานรอง
นั่นคือเขาทำสถิติเริ่มบันทึกไดอารี่ตั้งแต่ปี ๑๙๒๗
เมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่นธรรมดาคนหนึ่ง
แล้วก็เขียนมาเรื่อยแทบทุกวันจนถึงปี ๑๙๙๘
สิริรวมจำนวนเวลาที่บันทึกไดอารี่ได้ ๗๑ ปี
คิดเป็นปริมาณอักษรได้ทั้งสิ้น ๒๑ ล้านคำ!

คุณคงนึกว่าเขาโดดเดี่ยว
โลกนี้ไม่น่าจะมีมนุษย์คนไหนอีกแล้ว
ที่มีชีวิตเพื่อการบันทึกชีวิต
แต่ผิดครับ! กินเนสบุ๊กใช้วิธีตัดสินว่า
ใครบันทึกไดอารี่นานกว่ากัน เลยให้เจ้าของสถิติโลกเป็น
เออร์เนสต์ ลอฟตัส (
Ernest Loftus) ชาวซิมบับเว่
ซึ่งเริ่มเขียนไดอารี่ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม ๑๘๙๖
จนกระทั่งถึงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๑๙๘๗
สิริรวมจำนวนเวลาได้ ๙๑ ปี!
เขาได้ชื่อว่าบันทึกไดอารี่ตั้งแต่เด็กจนวันตายอย่างแท้จริง

ยังไม่หมดครับ
มีใครอีกคนในโลกนี้

นามว่า โรเบิร์ต ชีลด์ (
Robert Shields)
บันทึกแม้กระทั่งการเข้าส้วม
สามารถพูดถึงการปัสสาวะ
ด้วยแนวบรรยายที่หลากหลายไม่ซ้ำแบบ
แล้วก็ทำไดอารี่ให้มีความหมายกว่าการบันทึก
เช่น เอาขนจมูกแปะไว้กับไดอารี่ด้วยแผ่นเทปใส
เผื่อว่านักวิทยาศาสตร์จะสนใจศึกษาดีเอ็นเอของเขา

โรเบิร์ตคนนี้บันทึกกระทั่งรายละเอียดความฝันของตน
จนทำให้นอนได้ครั้งละไม่เกินสองชั่วโมง
และผลของการบันทึก "ทุกสิ่ง" ของตนไว้
ทำให้เขาเขียนไดอารี่ถึง ๓ ล้านคำต่อปี!

เขาไม่ได้เริ่มบันทึกตั้งแต่เด็กเหมือนสองรายข้างต้น
คือมาบันทึกเอาจริงจังตอน ๕๔
และตายตอนอายุ ๘๙
แต่ก็ทิ้งไดอารี่จำนวน ๓๗.๕ ล้านคำเอาไว้
ยาวกว่าสถิติของเอลลิสที่เริ่มตั้งแต่เยาว์วัยเกือบสองเท่า!

จะดีไหมถ้าคุณไม่ลืมอะไรเลย?
ถ้าชีวิตของคุณถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด
เราจะได้อะไรจากมันบ้าง
?

สำหรับโรเบิร์ต เขาแค่กล่าวสั้นๆ
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า
"ถ้าได้อ่านชีวิตของใครสักคนให้ลึก
เอาชนิดเห็นรายละเอียดทุกนาทีกันทุกวัน
คุณอาจได้พบความจริงบางอย่างเกี่ยวกับผู้คนทั้งหมดก็ได้"

โรเบิร์ตมอบไดอารี่ทั้งหมดของเขา
ให้กับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
โดยมีข้อแม้ว่า "ห้ามอ่าน" จนกว่าจะถึงปี ๒๐๔๙
ซึ่งเหตุผลก็คงเพื่อให้บุคคลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับไดอารี่
ล้มหายตายจากกันไปจนหมดเสียก่อน
จะได้ไม่ต้องสะเทือนกับความลับความนัยอะไร

ชีวิตแบบโรเบิร์ตและเพื่อนนักสร้างตำนานไดอารี่ของเขา
อาจเป็นอมตะอยู่บนหน้ากระดาษ
แน่นอนว่าชีวิตที่ถูกทรงจำไว้ได้
ย่อมน่าทึ่งกว่าชีวิตที่จะโดนลืมเลือนไป
การพยายามทำปรากฏการณ์ชั่วคราวอย่างชีวิตมนุษย์นี้
ให้มีความเป็นอมตะ ไม่ต้องล้มหายตายจากตามตัว
คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการบันทึกไดอารี่ที่ซื่อสัตย์เป็นแน่

แต่ความจริงก็คือคงไม่มีใครยอมเสียเวลาในชีวิตของตนเอง
เอาชีวิตของคนอื่นเข้ามาแทนที่
คิดดู คุณต้องใช้เวลาเท่าไรในการอ่านให้ได้ ๓๗ ล้านคำ
?
สรุปคือแม้บันทึกชีวิตไว้ละเอียดลออปานใด
ก็ใช่ว่าจะมีใครให้เวลาเข้าไปรู้เห็น
หรือต่อให้รู้เห็น ก็ใช่ว่าจะจำได้ทั้งหมดไหว

ก็ไม่แน่เหมือนกันนะครับ ถ้าผมอ่านหนังสือได้เร็วเป็นฟ้าแลบ
เท่ากับ โฮเวิร์ด เบอร์ก (
Howard Berg)
ซึ่งกินเนสบุ๊กบันทึกไว้ว่าอ่านได้ถึง ๒๕
,๐๐๐ คำต่อนาที
ผมอาจจะลองอ่านไดอารี่ของเอลลิสและโรเบิร์ตดูก็ได้
เพราะลองคำนวณเล่นๆ

ถ้านั่งอ่านไดอารี่ของโรเบิร์ตวันละ ๕ ชั่วโมง
ผมก็ใช้เวลาแค่ ๕ วันเท่านั้น
ในการดูดซับเอาชีวิตของคนอื่นเข้ามาประจุในสมองตัวเอง
ราวกับไปใช้ชีวิตใหม่ซึ่งไม่ใช่ตนอย่างสิ้นเชิงได้ในชาติเดียว

ลองเดาไหมครับว่าประโยชน์สูงสุด
จากการเข้าไปรู้จักชีวิตคนอื่นแบบนาทีต่อนาที
โดยใช้เวลารวบรัดเพียง ๕ วันนั้น คืออะไร

ผมขอเดานะครับ ทันทีที่อ่านจบ
เราอาจรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ต่างไปอย่างสิ้นเชิง
รวมทั้งหันมารู้สึกแปลกหน้ากับตัวเองได้หลายวูบด้วย
เพราะผลของการเจาะลึกเข้าไปในชีวิตมนุษย์เป็นนาทีๆ
น่าจะเกิดมุมมองว่าไม่เห็น "มีใคร" อยู่จริงๆเลยสักคน
มีแต่ร่างกายเคลื่อนไหวไปรับกระทบต่างๆนานา
มีแต่ความรู้สึกนึกคิดโต้ตอบกับสถานการณ์หนึ่งๆ
เกิดความเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ผ่านมาแล้วผ่านไป
ไม่มีจุดยืนใด หรือแกนอ้างอิงใดบอกได้เลย
ว่าความเป็นตัวเป็นตนแท้ๆแน่ๆมันปักอยู่ที่ตรงไหน
จะคิดอ่าน จะพูดจา หรือจะตัดสินใจทำอะไรกันแน่
เมื่อต้องรับกับกระทบแบบเดิม แต่เป็นปีที่ต่างกัน

ประโยชน์สูงสุดของการเห็นชีวิตคนอื่นเป็นนาทีๆ
น่าจะกระตุ้นให้เห็นย้อนมา
สำรวจความจริงในชีวิตตนเป็นนาทีๆ นานสักสองสามวันกระมัง
เสร็จแล้วก็อาจลืมสนิท กลับไปเหม่อลอยกับชีวิตทั้งชีวิตต่อไป
ถ้าไม่ทำความเข้าใจกับวิธีมองชีวิตเป็นอนิจจัง ทุกข์ อนัตตา
เพื่อเอามรรคเอาผลตามพระพุทธเจ้ากันจริงๆ

---

 

Cover_Seidaikontay01_copy_small

 

ขอถือโอกาสประชาสัมพันธ์นิดนะครับ
วันนี้เป็นวันที่หนังสือเสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
ได้ฤกษ์ปฏิรูปตัวเอง วางแผงใน
7-11 ด้วยราคา ๕๙ บาท
สำหรับฉบับปฏิรูปนี้ ลดราคาแต่เพิ่มเนื้อหา
ได้ผลมาจากการรับฟังทั้งคำติและคำชมตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ข้อติเช่นส่วนที่ยากถูกตัดทิ้งไป
ข้อชมเช่นคำถามที่ตรงใจและคำตอบที่ช่วยให้เข้าใจ
ในแบบที่พุทธควรจะเข้าใจจริงๆ ก็เพิ่มเติมเสริมเข้ามา
นอกจากนี้ยังมีการปรับโครงสร้างหลายส่วน
แจกแจงสิ่งที่ท่านทั้งหลายกังขากันว่าผมรู้ได้อย่างไร
เอาความแน่ใจมาจากไหนจึงเขียนอย่างนั้นอย่างนี้
ฉบับปฏิรูปได้แถลงไขอย่างชัดเจนที่สุดแล้วครับ

ดังตฤณ
มกราคม ๕๓

 

 


เมื่อทำดีจนได้ดี แต่กลับเอาสิ่งดีๆ ที่ได้รับ ไปเป็นต้นทุนในการทำสิ่งร้ายๆ (- -")

เช่นนี้แล้ว จะรอดพ้นจากภัยสังสารวัฏไปได้อย่างไร
คอลัมน์ "เล่าเรื่องเมืองพุทธ" ฉบับนี้
อ่านวิธีการทำดีอย่างฉลาดๆ จาก "หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช"
ในตอน "ทำดีอย่างไรให้ปลอดภัยในสังสารวัฏ" ค่ะ


เป็นที่ทราบกันว่า เวลาสำหรับการทำงาน คือเวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิต
แต่กลับมีคนจำนวนไม่น้อยเลยนะคะ ที่ไม่ได้ทำงานที่ตนรักอย่างแท้จริง
คอลัมน์ "โหรา (ไม่) คาใจ" ฉบับนี้
"คุณ Aims Astro" มีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่อยากมีความสุขในงาน (ที่ไม่ได้รัก (>_<") )
ในตอน "เบื่องานมากแต่ไม่อยากลาออก" ค่ะ


คนเรา เวลามีเรื่องมีราวกับใคร ก็โวยวายกรวดน้ำคว่ำขัน ไม่ขอพบปะเจอะเจอกันอีกต่อไป
แต่ทราบไหมคะ ยิ่งใจเราเจ็บแค้นชิงชังมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นเชื้อต่อบาปเวรระหว่างกันมากขึ้นเท่านั้น
คอลัมน์ "ห้องดับเพลิง" ฉบับนี้ "คุณชลนิล" มีวีรกรรมเด็ดๆ ของคนสนิท มาเป็นตัวอย่างสนับสนุนเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ในนิทานโทสะตอน 'ไม่หมด (กรรม) เพราะใจไม่จบ" ค่ะ


ของที่ได้ชื่อว่า 'พิเศษ' ย่อมเป็นที่ต้องการมากกว่าของปรกติธรรมดา
ยิ่งถ้าได้เป็น 'คนพิเศษ' ด้วยแล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่อยากอยู่ในตำแหน่งนี้ใช่ไหมคะ
แต่ "อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา" ท่านกลับบอกเราว่า "อะไรที่พิเศษ มักพ่วงความทุกข์มาด้วย" (
‿◡✿)
จะเป็นอย่างไรนั้น อ่านรายละเอียดที่คอลัมน์ "บทความรัก" ได้เลยค่ะ



 

ข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจ

บ้านอารีย์ ขอเชิญร่วมฟังธรรมบรรยาย ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๓ ณ ศาลาปันมี ดังนี้ค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มกราคม
ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส
พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว จ.เพชรบูรณ์
เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.
และวันพุธที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
ธรรมบรรยายโดย หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ
เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐ น. ค่ะ (-/\-)


ถ้าคิดอย่างมีเหตุผล แม้แต่คนโง่ก็มีแนวโน้มจะฉลาดขึ้น
แต่ถ้าใช้อารมณ์นำหน้า แม้แต่คนฉลาดก็มีแนวโน้มจะโง่ลง
ปัญหาคือทำอย่างไรจะรู้ว่า...ขณะหนึ่งๆ เรากำลังใช้เหตุผลหรืออารมณ์นำหน้าอยู่?
เว็บไซต์ yahoo รู้รอบ! ชวนเพื่อนๆ มาตอบคำถามของคุณดังตฤณกันค่ะ
คำตอบที่ถูกใจผู้ถามมากที่สุด จะได้รับเลือกให้เป็นคำตอบที่บันทึกไว้ใน
yahoo รู้รอบ ประเทศไทย (^^,)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20100112230656AA7rD89


และข่าวฝากสุดท้ายจากทีมงาน dlitemag เอง ^o^
ถึงเวลานี้มีท่านผู้อ่านให้ความสนใจร่วมกิจกรรมรับขวัญปีเสือ "ปีใหม่ ชีวิตใหม่ กับ dlitemag" ร่วมกว่าร้อยท่านแล้ว
ท่านใดที่กำลังลังเลใจว่าจะเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างไร ก็ยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกันได้นะคะ
ขอแอบกระซิบดังๆ ว่าหมดเขตการร่วมสนุกชิงรางวัล
หนังสือ "เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน ฉบับปฏิรูป" ของคุณดังตฤณ ภายในสิ้นเดือนนี้ค่ะ
:))))


 



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP