จุดหมายปลายธรรม Destination@Dharmma

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนในสถานการณ์ Covid-19 (ตอนที่ ๒)


งดงาม
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it

 


314 destination



ในคราวที่แล้ว เราได้สนทนาในเรื่องการพึ่งตนเองในสถานการณ์ Covid-19
หลังจากนั้น ปรากฏว่าสถานการณ์ได้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในปัจจุบันได้เพิ่มสูงเกินกว่าหมื่นคนต่อวันแล้ว
เช่น วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ๑๔,๒๖๐ คน
วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ๑๕,๓๓๕ คน
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ๑๕,๓๓๕ คน
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ๑๔,๑๕๐ คน เป็นต้น


ในขณะเดียวกัน สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ผมได้เคยแนะนำให้เตรียมไว้นั้น
เมื่อวันที่
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่มีอาการ
เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษาและลดภาระของระบบสาธารณสุขแล้ว
https://www.prachachat.net/general/news-724832
แต่ว่าปัญหาที่สำคัญก็คือในเวลานี้ คือ
สมุนไพรฟ้าทะลายโจรขาดตลาด และไม่สามารถจะหาซื้อได้โดยง่ายแล้ว
https://mgronline.com/local/detail/9640000069947
https://www.thaipost.net/main/detail/110556
ในขณะที่เราควรต้องมองภาพเผื่อเอาไว้ว่า
สถานการณ์ของโควิด-19 นี้ไม่น่าจะจบลงได้ในเวลาอันใกล้
และก็มีแนวโน้มที่จะเกิดไวรัสกลายพันธุ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกได้
ดังนั้นแล้ว เราก็ควรเตรียมพร้อมในส่วนของเราเองด้วยครับ
โดยหากมีพื้นที่ภายในบ้านแล้ว ก็ควรจะเริ่มปลูกต้นฟ้าทะลายโจรในบ้านด้วยครับ
หากพื้นที่น้อย ก็จะปลูกไว้ในกระถางก็ได้ เผื่อเอาไว้ยามที่จำเป็น
สำหรับกรณีที่เราไม่สามารถหาเตียงได้ และก็ไม่สามารถหาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรได้
อย่างน้อยก็ยังสามารถกินใบฟ้าทะลายโจรที่ปลูกเองได้


ในกรณีที่แย่กว่านั้น คือหาเตียงก็ไม่ได้ หาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรก็ไม่ได้
และก็ไม่มีต้นฟ้าทะลายโจรที่ปลูกเองด้วย
อีกทางหนึ่งก็คือ แนะนำให้กินน้ำต้มสมุนไพรแก้ไข้หวัดตามวิธีการของคนโบราณ
โดยสามารถดูตัวอย่างได้ในคลิปนี้ครับ
https://youtu.be/ylYhy4PP_Qs
ซึ่งล้วนแต่เป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่หาได้ไม่ยากครับ ได้แก่
หอมแดง ตะไคร้ กระชายขาว ใบมะกรูด และข่า
ซึ่งในกรณีนี้ย่อมจะเป็นประโยชน์และดีกว่านั่งรอเตียงอยู่ที่บ้านเฉย ๆ
โดยที่ไม่ได้พยายามรักษาตนเองครับ


ทั้งนี้ เราพึงพิจารณาปริมาณสมุนไพรที่เหมาะสมด้วย
โดยหากทานปริมาณเยอะเกินไปก็ไม่ดีครับ
เพราะหอมแดง ตะไคร้ กระชายขาว ใบมะกรูด และข่า เหล่านี้
ล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อนทั้งหมด
หากทานปริมาณมากเกิน ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะฤทธิ์ร้อนเกิน
และทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นได้ครับ
ดังนั้นเราก็ต้องสังเกตอาการตนเองด้วยว่าทานปริมาณเท่าไร
จึงจะรู้สึกสบายตัวเหมาะสมกับตนเอง


ในช่วงระหว่างปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ นี้
ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเวลาการล็อกดาวน์จังหวัดสีแดงเข้ม
ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔ แล้ว
https://thestandard.co/moicovid-announces-lockdown-starting-12th-july/
ซึ่งก็มีแนวโน้มเป็นไปได้ว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันอาจจะไม่ได้ลดลงเท่าที่หวังไว้
โดยก็มีตัวอย่างที่เห็นได้จากประเทศมาเลเซีย
ซึ่งได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ แล้ว
แต่ในปัจจุบัน ประเทศมาเลเซียก็ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้
และมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงกว่าประเทศไทย
https://www.naewna.com/inter/590392?fbclid=IwAR3bOyAUy9YClhDZew1cKwaTQt7nnKHbyE6pwwpB1rlxNZl20xyP2l2Jclo
ทั้ง ๆ ที่ประเทศมาเลเซียมีจำนวนประชากรน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทย


ดังนี้ ล็อกดาวน์อาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะสามารถจัดการไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้
หรือทางภาครัฐอาจจำเป็นต้องล็อกดาวน์นานขึ้น หรืออย่างเข้มข้นมากขึ้น
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ และการหาเลี้ยงชีพของทุกคน
รวมถึงระบบเศรษฐกิจในภาพรวมได้


ในแง่ของการหาเลี้ยงชีพในช่วงเวลานี้
เราจึงสมควรต้องนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้ให้มากครับ
ซึ่งเมื่อเวลาที่เราพูดถึง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แล้ว
หลายคนจะรู้สึกว่า ตนเองรู้แล้ว หมายถึง มีน้อยใช้น้อย มีเท่าไรก็พอเท่านั้น
ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงครับ
โดยแบบนั้น ควรจะเรียกว่า “พอใจในสิ่งที่ตนเองมี”
แต่ไม่ใช่ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ครับ แตกต่างและห่างไกลกันอย่างมาก
ถ้าหากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหมายถึง มีน้อยใช้น้อย มีเท่าไรก็พอเท่านั้นแล้ว
ก็ย่อมจะไม่ได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติหรอกครับ
แต่เราก็ต้องยอมรับว่ายุคสมัยนี้ คนที่อ่านหนังสือน้อยบรรดทัดมีอยู่จำนวนมาก
ก็ย่อมจะไม่สามารถเข้าถึงเรื่องดังกล่าวได้


โดยย่อแล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม “ความพอเพียง” จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะประกอบกัน ได้แก่


๑. “ความพอประมาณ” หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
(จึงไม่ได้หมายความว่า มีเท่าไร ก็พอใจเท่านั้น ไม่เหมือนกันนะครับ
คำว่า “มีเท่าไร ก็พอใจเท่านั้น” มันอาจจะน้อยเกินไป หรือมากเกินไปก็ได้)


๒. “ความมีเหตุผล” หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ


๓. “การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว” หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึง
ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น
ต้องอาศัยทั้ง “ความรู้” และ “คุณธรรม” เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
(๑) เงื่อนไข “ความรู้” ประกอบด้วย รอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง กล่าวคือ
ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ


(๒) เงื่อนไข “คุณธรรม” ประกอบด้วย ชื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน และแบ่งปัน
กล่าวคือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีความอดทนและความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
และรู้จักแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น


ดังนี้แล้ว ในวิกฤติเช่นนี้ “ความพอประมาณ” ย่อมหมายถึงว่า
เราต้องเตรียมพร้อมอย่างไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป
ไม่ใช่ว่าเราอยู่เฉย ๆ ไม่ตระเตรียมอะไรเลย
แล้วก็บอกว่านี้คือพอเพียง แบบนั้นผิดครับ


“ความมีเหตุผล” ย่อมหมายถึงว่า เราจะตัดสินใจใด ๆ ก็ย่อมจะต้องมีเหตุผล
ซึ่งประกอบด้วยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง
จึงต้องมีการศึกษาหาความรู้ให้ครบถ้วน
และพิจารณาอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
ไม่ใช่ว่าใครส่งข้อมูลอะไรมา เราก็หลงเชื่อโดยทันทีโดยง่าย และไม่ตรวจสอบ
และตัดสินใจในเรื่องใด ๆ ด้วยความประมาท ไม่รอบคอบ


“การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว” หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ซึ่งการที่จะวางแผนสร้างภูมิคุ้มกันดังกล่าว
ก็ต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังเช่นกัน


ทั้งนี้ ในการดำเนินการเพื่อให้มี “ภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว” ก็ต้องอาศัย
“คุณธรรม” ประกอบด้วย ชื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน และแบ่งปันด้วย
ไม่ใช่ว่าเราเอาแต่ขี้เกียจ อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร และรอแต่ให้คนอื่นมาช่วย
โดยไม่ได้มีความขยันอดทนพยายามที่จะสร้างภูมิคุ้มกันแก่ตนเอง
หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าได้ปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครับ


บางคนอาจจะบอกว่า “ฉันไม่รู้ว่าต้องทำอะไร หรือจะทำยังไง”
นั่นก็คือการขาดเงื่อนไข “ความรู้” ครับ
โดยหากเราไม่รู้ว่าต้องทำอะไร หรือจะทำยังไง
เราก็ต้องศึกษาความรู้เพิ่มเติม และก็ไม่หลงเชื่อคนอื่นโดยง่าย
โดยควรจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง
ซึ่งเมื่อมีความรู้ และเข้าใจว่าต้องทำอะไร หรือจะทำยังไงแล้ว
การแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ก็จะสามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP