จุดหมายปลายธรรม Destination@Dharmma

ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า


งดงาม
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it



258 destination


เราอาจจะเคยได้ยินบางท่านกล่าวถึงเรื่องการใช้ชีวิตให้คุ้มค่านะครับ
เช่น บางท่านบอกว่าตนเองพร้อมตายได้แล้ว เพราะว่าใช้ชีวิตคุ้มค่าแล้ว

กล่าวคือได้ทำในสิ่งที่อยากทำ และได้ไปในสถานที่ที่ตนเองอยากไป
หรือบางท่านป่วยหนัก และแพทย์ให้ความเห็นว่าไม่มีทางรักษาหายแล้ว
จึงเลือกที่จะใช้ชีวิตตามที่ตนเองต้องการ
โดยทำในสิ่งที่อยากทำ และไปในสถานที่ที่ตนเองอยากไป
แล้วก็บอกว่าว่าตนเองใช้ชีวิตคุ้มค่าแล้ว สบายใจแล้ว และพร้อมจะตายได้
ความคุ้มค่าในการใช้ชีวิตเช่นนั้นก็เป็นความเข้าใจของบางท่าน


แต่ถ้าเราจะพิจารณาตามพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร จึงจะคุ้มค่าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนเรื่องบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญครับ
ใน “ภัทเทกรัตตสูตร” (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ


ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร?
คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า
เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว


ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร?
คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า
เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว


ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร?
คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า
ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง


ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร?
คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า
ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง


ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร?
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน


ภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร?
คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=7031&Z=7114&pagebreak=0


ทั้งนี้ ใน “อานันทภัทเทกรัตตสูตร” (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=7115&Z=7222&pagebreak=0
ใน “มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร” (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=7223&Z=7493&pagebreak=0
และใน โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7494&Z=7622&pagebreak=0
ก็ได้สอนไว้ในทำนองเดียวกัน โดยใน “มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร” ได้ขยายความ ดังนี้


บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร?
คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า
จักษุของเราได้เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว
เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า
โสตของเราได้เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า
ฆานะของเราได้เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า
ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า
กายของเราได้เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า
มโนของเราได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว
เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว


บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร?
คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า
จักษุของเราได้เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว
เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า
โสตของเราได้เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า
ฆานะของเราได้เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า
ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า
กายของเราได้เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า
มโนของเราได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว
เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว


บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร?
คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต
เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้ ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้ ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้ ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้ ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต
เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง


บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร?
คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต
เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้ ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้ ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้ ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ฯลฯ
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้ ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต
เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง


บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร?
คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบัน
เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบัน
เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
อย่างนี้แลชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน


บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร?
คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบัน
เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ ทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบัน
เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=7223&Z=7493&pagebreak=0


ดังนี้ การใช้ชีวิตให้คุ้มค่าตามพระธรรมคำสอนนั้น
ไม่ใช่การได้ทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ หรือได้ไปในสถานที่ที่ตนเองอยากไป

แต่เป็นการใช้ชีวิตอย่างบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ กล่าวคือ
ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
เห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น
เจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่ง ทำความเพียรเสียในวันนี้
มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนครับ



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP