ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

สัพพลหุสสูตร ว่าด้วยวิบากอย่างเบาที่สุดแห่งการล่วงกรรมบถ


กลุ่มไตรปิฎกสิกขา



[๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


ภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


ภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังการถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


ภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


ภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


ภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือ (ผู้อื่นไม่เชื่อคำพูด) ให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


ภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว กระทำไห้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก
ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด
ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.


สัพพลหุสสูตร จบ



(สัพพลหุสสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๗)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP