จุดหมายปลายธรรม Destination@Dharmma

ภิกษุล้างเท้ามารดา โยมสตรีล้างเท้าภิกษุ


งดงาม
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it



164 destination



ในตอนที่แล้ว เราได้สนทนากันในเรื่องภิกษุกราบแม่
http://www.dlitemag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1430&Itemid=1
ในคราวนี้ เรามาสนทนากันในประเด็นที่ใกล้เคียงกัน
ซึ่งเราอาจจะได้เคยพบเห็นตามข่าวกันมาบ้างคือกรณีภิกษุล้างเท้าแม่นะครับ


ในกรณีภิกษุล้างเท้าแม่นี้ เราต้องพิจารณาก่อนว่าล้างเท้าเพื่อวัตถุประสงค์อะไร
หากเป็นการล้างเท้าเพื่อแสดงความเคารพ

ก็ย่อมจะเป็นกรณีเดียวกับภิกษุกราบแม่ที่ได้สนทนาไปแล้วในคราวก่อนว่า
ในพระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ ได้ระบุถึง บุคคลที่ภิกษุไม่ควรไหว้ มี ๑๐ จำพวก
โดยหนึ่งใน ๑๐ จำพวกดังกล่าวได้แก่ ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
(คือผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ ซึ่งหมายถึง สามเณรและคฤหัสถ์)
ซึ่งหากภิกษุไหว้บุคคลใดใน ๑๐ จำพวกนั้นแล้ว
ตามพระวินัย ถือว่าเข้าข่ายอาบัติทุกกฎ (ซึ่งสตรีก็ย่อมถือเป็นอนุปสัมบันด้วยนะครับ)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=2170&Z=2313&pagebreak=0


ในพระวินัยไม่ได้ห้ามเฉพาะการกราบไหว้เท่านั้น
แต่ได้ห้ามการทำความเคารพในวิธีการอื่น ๆ ด้วย
เช่น การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้
การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า
การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ เป็นต้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=6&A=3597&Z=3791&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=6&A=3792&Z=3954&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=6&A=3955&Z=4120&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=6&A=4121&Z=4312&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=6&A=4313&Z=4473&pagebreak=0


ดังนี้ หากภิกษุล้างเท้าแม่เพื่อวัตถุประสงค์ต้องการแสดงความเคารพ
ย่อมเป็นการขัดต่อพระวินัยในทำนองเดียวกับการแสดงความเคารพในวิธีการอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าว


สมมุติว่าภิกษุล้างเท้าแม่ด้วยวัตถุประสงค์อื่น ๆ โดยไม่ได้เป็นไปเพื่อแสดงความเคารพก็ตาม
ก็ยังพึงต้องพิจารณาในข้อห้ามในพระวินัยเรื่องสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ ซึ่งบัญญัติว่า
“ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม
คือจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13152&Z=13713&pagebreak=0


คำว่า “มาตุคาม” นี้ หมายถึง หญิงมนุษย์ แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น
โดยไม่ได้หมายถึงหญิงยักษ์ หญิงเปรต และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียด้วย
ขอให้สังเกตว่าสังฆาทิเสสบทที่ ๒ นี้จะระบุเฉพาะมาตุคามเท่านั้น
ดังนี้ หากภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับบุรุษอื่น
หรือกระเทย หรือสัตว์เดรัจฉาน หรือยักษี (ยักษ์สตรี) ก็ตาม ย่อมจะไม่ผิดข้อสังฆาทิเสสบทที่ ๒ นี้
แต่ว่าก็ยังอาจจะผิดพระวินัยในข้ออื่น ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น
ภิกษุมีความกำหนัด และถูกต้องซึ่งกายของกระเทย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุมีความกำหนัด และถูกต้องซึ่งกายของบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฎ
ภิกษุมีความกำหนัด และถูกต้องซึ่งกายของสัตว์เดรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฎ เป็นต้น
ภิกษุมีความกำหนัด และถูกต้องซึ่งกายของยักษี (ยักษ์สตรี) ต้องอาบัติอาบัติถุลลัจจัย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13152&Z=13713&pagebreak=0
โดยขอให้สังเกตว่ากรณีที่ภิกษุภิกษุมีความกำหนัด และถูกต้องซึ่งกายของสตรีนั้น
ถือเป็นอาบัติที่หนักกว่าถูกต้องซึ่งกายของกระเทย บุรุษ หรือสัตว์เดรัจฉาน

นอกจากนี้ ในส่วนของสตรีนั้น ไม่เพียงแต่ถูกต้องซึ่งกายเท่านั้น
แม้การถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย หรือของที่โยนให้กัน ก็ต้องอาบัติได้ ดังต่อไปนี้
หากภิกษุมีความกำหนัดแล้ว ถูกต้องซึ่งกายของภิกษุ ด้วยของเนื่องด้วยกายสตรี
โดยภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
หากภิกษุมีความกำหนัดแล้ว ถูกต้องซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยของเนื่องด้วยกายสตรี
โดยภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย หรือรู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ
หากภิกษุมีความกำหนัดแล้ว ถูกต้องซึ่งกายของภิกษุ ด้วยของที่โยนไปให้สตรี
โดยภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย หรือรู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ
หากภิกษุมีความกำหนัดแล้ว ถูกต้องซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ ด้วยของที่โยนไปให้สตรี
โดยภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย หรือรู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ


นอกจากนี้ หากภิกษุมีความกำหนัด และเขย่าสะพานที่สตรีขึ้นเดิน ต้องอาบัติทุกกฎ
หากภิกษุมีความกำหนัด และเขย่าต้นไม้ที่สตรีขึ้น ต้องอาบัติทุกกฎ
หากภิกษุมีความกำหนัด และโคลงเรือที่สตรีลงนั่ง ต้องอาบัติทุกกฎ
หากภิกษุมีความกำหนัด และกระตุกเชือกที่สตรีจับไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
หากภิกษุมีความกำหนัด และฉุดท่อนไม้ที่สตรีถือไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
หากภิกษุมีความกำหนัด และดันสตรีไปด้วยบาตร ต้องอาบัติถุลลัจจัย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13152&Z=13713&pagebreak=0
กล่าวโดยสรุปคือไม่ว่าจะสัมผัสด้วยกาย หรือสัมผัสผ่านสิ่งของต่าง ๆ
หรือแม้จะสัมผัสโดยใช้ของสัมผัสกับของแล้วค่อยไปสัมผัสกับกาย ก็ตาม
หากภิกษุมีความกำหนัดแล้ว ก็เข้าข่ายอาบัติได้ เพียงแต่ว่าระดับของอาบัติจะแตกต่างกันไป


นอกจากนี้ แม้ว่าจะสัมผัสศพสตรี หรือตุ๊กตาสตรีก็ตาม ก็ยังเป็นอาบัติได้
โดยหากภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับศพสตรีแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
หรือหากภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับตุ๊กตาไม้ (สตรี) แล้ว ต้องอาบัติทุกกฎ
แม้แต่กรณีที่ภิกษุพยายามจะจับต้องสตรี แต่ยังไม่ได้จับต้องโดนสตรีก็ตาม
ก็ยังต้องอาบัติทุกกฎ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13152&Z=13713&pagebreak=0


ทีนี้ เราย้อนกลับมาพิจารณาประเด็นของเรื่องว่า ภิกษุสัมผัสกายของสตรี ซึ่งเป็นมารดา
โดยไม่ได้สัมผัสเพราะความกำหนัดในเชิงชู้สาว แต่ด้วยความรักฉันบุตรต่อมารดาก็ตาม
กรณีก็ยังสามารถเป็นอาบัติได้เช่นกัน ดังต่อไปนี้
หากภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมารดา ด้วยความรักฉันมารดา ต้องอาบัติทุกกฎ
หากภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับธิดา ด้วยความรักฉันธิดา ต้องอาบัติทุกกฎ
หากภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับพี่น้องหญิง ด้วยความรักฉันพี่น้องหญิง ต้องอาบัติทุกกฎ
แต่หากเป็นกรณีภิกษุถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับอดีตภรรยาแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13152&Z=13713&pagebreak=0


กรณีทั้งหลายข้างต้นมีข้อยกเว้นในกรณีที่ภิกษุไม่จงใจถูกต้อง หรือภิกษุถูกต้องด้วยไม่มีสติ
หรือภิกษุไม่รู้ หรือภิกษุไม่ยินดี หรือภิกษุวิกลจริต หรือภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
หรือภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา หรือภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ


กล่าวโดยสรุปแล้ว กรณีที่ภิกษุล้างเท้าของมารดานั้น
หากภิกษุเกิดมีความกำหนัดขึ้นแล้ว ย่อมต้องอาบัติสังฆาทิเสส

แต่หากกระทำด้วยด้วยความรักฉันมารดา ก็ยังต้องอาบัติทุกกฎ
ดังนั้นแล้วก็เป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะผิดพระวินัยได้โดยง่าย
เพราะโดยสภาพแล้วจิตเป็นอนัตตา เราไม่สามารถสั่งให้เป็นไปตามใจเราได้
โดยความกำหนัดหรือความรักฉันมารดาย่อมจะเกิดขึ้นภายในจิตเมื่อใดก็ได้


ในอรรถกถาของสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒ ได้อธิบายและยกตัวอย่างถึงขนาดว่า
“ภิกษุจับต้อง ด้วยความรักอาศัยเรือนว่า ผู้นี้เป็นมารดาของเรา
นี้เป็นธิดาของเรา นี้เป็นพี่น้องสาวของเรา เพราะขึ้นชื่อว่าผู้หญิง
แม้ทั้งหมด จะเป็นมารดาก็ตาม เป็นธิดาก็ตาม เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ทั้งนั้น
เมื่อภิกษุระลึกถึงศีลข้อนี้ ถ้าแม้ว่าเห็นมารดาถูกกระแสน้ำพัดไป ก็ไม่ควรจับต้องด้วยมือ
แต่ภิกษุผู้ฉลาดพึงนำเรือ หรือแผ่นกระดาน หรือท่อนกล้วย หรือท่อนไม้เข้าไปให้
เมื่อเรือเป็นต้นนั้นไม่มี แม้ผ้ากาสาวะนำไปวางไว้ข้างหน้า
แต่ไม่ควรกล่าวว่า จงจับที่นี้ เมื่อท่านจับแล้ว พึงสาวมาด้วยทำในใจว่า เราสาวบริขารมา
ถ้าหากมารดากลัว พึงไปข้างหน้า ๆ แล้วปลอบโยนว่า อย่ากลัว
ถ้ามารดาถูกน้ำพัดไป รีบขึ้นคอหรือจับที่มือของภิกษุผู้เป็นบุตร
ภิกษุอย่าพึงสลัดว่า หลีกหนีไปหญิงแก่ พึงส่งไปให้ถึงบก
เมื่อมารดาติดหล่มก็ดี ตกลงไปในบ่อก็ดี มีนัยเหมือนกันนี้
อธิบายว่า ภิกษุพึงฉุดขึ้น แต่อย่าพึงจับต้องเลย”
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=375


สังเกตว่าแม้มารดาจะตกน้ำและโดนน้ำพัดพาไปก็ตาม
ในอรรถกถาของสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒ ก็ยังแนะนำว่าให้เลี่ยงการจับต้องด้วยมือ
แต่ให้ช่วยเหลือโดยให้จับต้องผ่านสิ่งของอื่น ๆ แทน


เราจึงจะเห็นได้ว่าในทางปฏิบัติแล้ว พระภิกษุจะไม่สัมผัสกับสตรีโดยตรง
โดยเวลารับของถวายก็จะรับผ่านสิ่งของต่าง ๆ เช่น รับของถวายผ่านผืนผ้า เป็นต้น
ซึ่งเป็นวิธีป้องกันไม่ให้พลาดไปต้องอาบัติหนักข้อสังฆาทิเสส
เพราะหากเกิดพลั้งเผลอจิตเกิดความกำหนัดระหว่างสัมผัสของที่เนื่องด้วยกายแล้ว
ก็จะได้เป็นเพียงอาบัติทุกกฎซึ่งเบากว่า


ในอีกกรณีหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน เราอาจจะเคยเห็นกรณีของโยมสตรีล้างเท้าภิกษุ
ซึ่งเราก็อาจจะสงสัยว่าภิกษุจะต้องอาบัติหรือไม่
ในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒ ก็ได้มีบรรยายตัวอย่างไว้นะครับว่า
ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ยกเท้าขึ้นถูกต้องสตรีผู้กำลังไหว้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุมีความกำหนัดแล้ว สตรีถูกต้องซึ่งกายนั้นของภิกษุ ด้วยกายของสตรี
และภิกษุความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=13152&Z=13713&pagebreak=0
ดังนี้แล้ว ไม่ว่าภิกษุจะเอาเท้าไปถูกต้องสตรี หรือยอมให้สตรีมาถูกต้องเท้าของตนก็ตาม
หากภิกษุเกิดมีความกำหนดแล้ว แม้เพียงขณะจิตเดียวก็ตาม ก็ย่อมเป็นอาบัติได้ครับ
โดยในเรื่องของการสัมผัสต่อสตรีนั้น พึงพิจารณาตามถ้อยคำในอรรถกถาว่า
ขึ้นชื่อว่าผู้หญิง แม้จะเป็นมารดา หรือเป็นธิดา ก็เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์เช่นกัน
ดังนี้ กรณีผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ญาติแล้ว จึงไม่ต้องพูดถึงนะครับ เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์แน่นอน


ทั้งนี้ แม้ว่าภิกษุจะไม่พึงสัมผัสหรือจับต้องมารดาก็ตาม
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภิกษุจะไม่สามารถเลี้ยงดูมารดาได้นะครับ
โดยภิกษุย่อมสามารถแบ่งปันอาหารเพื่อเลี้ยงดูมารดาได้ดังที่กล่าวแล้วในตอนที่แล้ว
http://www.dlitemag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1430&Itemid=1
แต่ในเรื่องการสัมผัสหรือจับต้องมารดานั้น
พึงต้องพิจารณาและระมัดระวังในพระวินัยที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น


+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +


หมายเหตุ ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๘ ศาลาปฏิบัติธรรม อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
อยู่ระหว่างทำประตูศาลา และเก็บรายละเอียดงานต่าง ๆ
โดยน่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ นี้
และเริ่มเปิดใช้งานได้ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ครับ


ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามกิจกรรมการจัดค่ายเรียนรู้กายใจสอนธรรมะแก่เด็ก ๆ เยาวชน ได้ที่
http://www.facebook.com/rooguyroojai
และสามารถติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมได้ที่
เชิญร่วมสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ชมรมเรียนรู้กายใจ จังหวัดนครสวรรค์



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP