จุดหมายปลายธรรม Destination@Dharmma

หัดเจริญเมตตา (ตอนที่ ๒)


งดงาม
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it


162 destination


ในฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ เราได้คุยกันเรื่องหัดเจริญเมตตาไปแล้วนะครับ
http://www.dlitemag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1209:2014-06-11-06-21-04&catid=66:-desitinationdhamma&Itemid=59
โดยในที่นี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมจากเนื้อหาตอนดังกล่าวในบางประเด็น


ขอเริ่มด้วยเรื่องอานิสงส์ของการเจริญเมตตานะครับ
ซึ่งในตอนที่แล้วได้กล่าวแล้วว่า เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ ๑๑ ประการได้แก่
๑. ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข ๓. ไม่ฝันลามก
๔. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๕. ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๖. เทวดาย่อมรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๘. จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว
๙. สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑๐. ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ
๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก
(ยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=8449&Z=8691&pagebreak=0


ในเรื่องของอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้ได้มีกล่าวไว้หลายแห่งนะครับ
เช่น ในอรรถกถาของ “อรกชาดก” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก)
ได้กล่าวอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้ไว้เช่นเดียวกัน
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=187
และในเมตตาสูตร (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต)
ก็กล่าวอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้ไว้เช่นเดียวกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=8297&Z=8309&pagebreak=0


สำหรับอานิสงส์ในข้อที่ว่าไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกรายนี้
อรรถกถาของเมตตาสูตร (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต)
ได้เล่าเรื่องนางอุตตรา (ซึ่งเป็นพระโสดาบัน) ว่า
นางสิริมามีความหึงหวงและอาฆาตนางอุตตรา จึงเข้าไปสู่โรงครัวใหญ่
เอาทัพพีตักเนยใสอันเดือดพล่านในที่ทอดขนมแล้ว ก็เดินมุ่งหน้าตรงไปหานางอุตตรา
นางอุตตราเห็นนางสิริมาเดินมา จึงแผ่เมตตาไปถึงนางสิริมาว่า
หญิงสหายของเราทำอุปการะแก่เรามาก จักรวาลก็แคบเกินไป พรหมโลกก็ต่ำนัก
คุณของหญิงสหายเราใหญ่มาก เพราะเราอาศัยนาง จึงได้เพื่อถวายทานและฟังธรรม
ถ้าเรามีความโกรธเหนือนางสิริมานั้น เนยใสนี้จงลวกเราเถิด ถ้าไม่มี อย่าลวกเลย
เนยใสซึ่งเดือดพล่านที่นางสิริมานั้น รดลงเบื้องบนนางอุตตรานั้นได้เป็นเหมือนน้ำเย็น
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27&p=3


นอกจากนี้ ได้เล่าเรื่องของแม่โคตัวหนึ่งกำลังยืนหลั่งน้ำนมให้แก่ลูกโคอยู่
นายพรานคนหนึ่งคิดว่า เราจักแทงแม่โคนั้น จึงใช้มือพลิกไปมาพุ่งหอกด้ามยาวไป
หอกนั้นแหละหมุนไปกระทบร่างแม่โคนมนั้น เหมือนใบตาลปลิวไปกระทบฉะนั้น
เพราะกำลังอุปจารภาวนาหามิได้ เพราะกำลังอัปปนาภาวนาก็หามิได้
แต่เป็นเพราะแม่โคนั้นมีจิตเกื้อกูลอย่างแรงในลูกโคอย่างเดียว
เมตตามีอานุภาพมากถึงเพียงนี้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=222


ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ได้สอนว่า
ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต หรือเจริญเมตตาจิต หรือใส่ใจเมตตาจิต

แม้ชั่วการเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาทของพระศาสดา ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=210&Z=246&pagebreak=0


ใน “กุลสูตร” (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค) สอนว่า
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญเมตตาเจโตวิมุติ ไม่กระทำให้มากแล้ว
ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ง่าย
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญเมตตาเจโตวิมุติ กระทำให้มากแล้ว
ภิกษุรูปนั้นย่อมเป็นผู้อันอมนุษย์กำจัดได้ยาก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=6979&Z=6991&pagebreak=0


นอกจากอานิสงส์หลายประการดังที่กล่าวมาข้างต้น
หากจะเปรียบเทียบอานิสงส์ของการเจริญเมตตาเทียบกับการให้ทานแล้ว
อานิสงส์ของการเจริญเมตตาก็มีอานิสงส์ยิ่งกว่าการให้วัตถุทาน
โดยใน “โอกขาสูตร” (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค) เล่าว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า
ผู้ใดให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง
ผู้ใดให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น
ผู้ใดเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้า โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค
หรือผู้ใดเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยง โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค
หรือผู้ใดเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค
การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่งนั้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=6992&Z=7005&pagebreak=0


ทั้งนี้ ในอรรถกถาของ “โอกขาสูตร” ได้อธิบายคำว่า “ชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค”
ว่าหมายถึง เพียงการบีบหัวนมแม่โคครั้งเดียว
หรืออีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เพียงสละกลิ่น คือ
เพียงชั่วเวลาใช้ ๒ นิ้วจับก้อนของหอมสูดดมครั้งเดียว
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=667


โดยที่การเจริญเมตตาจิตมีอานิสงส์ถึงเพียงนี้แล้ว
ประเด็นพิจารณาต่อไปคือ เราจะเจริญเมตตาจิตอย่างไร?
ในอรรถกถาของ “โอกขาสูตร” ได้ใช้ถ้อยคำว่า ผู้เจริญเมตตาจิตแผ่ประโยชน์เกื้อกูล
ไปในสรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้ง ๔ ซึ่งหาประมาณมิได้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=667
ใน “อรกชาดก” ได้ใช้ถ้อยคำว่า ผู้ใดย่อมอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง
ด้วยจิตเมตตาหาประมาณมิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง โดยประการทั้งปวง
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=1195&Z=1201&pagebreak=0


ใน “กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต) ได้สอนว่า
พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข
มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
เป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ผอมหรือพี
และสัตว์เหล่าใดมีกายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น
ที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด
ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด
สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรเขาในที่ไหน ๆ
ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความกริ้วโกรธ เพราะความเคียดแค้น
มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วยการยอมสละชีวิตได้ ฉันใด
กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น
กุลบุตรนั้น พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู
กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี
พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=237&Z=267&pagebreak=0


ใน “มหาวรรค วิโมกขกถา บริบูรณ์นิทาน”
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) กล่าวว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่
ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์
ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=6186&Z=7125&pagebreak=0


ใน “เมตตาสูตร” (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต)
ก็กล่าวทำนองเดียวกันว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3526&Z=3586&pagebreak=0


ซึ่งจากถ้อยคำในหลายพระสูตรที่ยกมาข้างต้นนี้
ย่อมจะทำให้เห็นได้ว่าการเจริญเมตตาจิตนั้นย่อมแผ่ประโยชน์
เพื่อเกื้อกูลในสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่มีประมาณ ในทุกทิศทาง
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง


อนึ่ง ใน “ยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน”
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) ได้สอนว่า
การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติสามารแบ่งออกได้เป็นหลายอาการ ได้แก่
แผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕
แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ และ
แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐


เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ ได้แก่
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไป โดยไม่เจาะจงว่า ขอเหล่าสัตว์ทั้งปวง
ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
(“ปาณะ” คือ เพราะมีชีวิต เพราะยังเป็นไปอาศัยลมหายใจเข้าและลมหายใจออกอยู่)


เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ ได้แก่
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง
อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด


เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ได้แก่
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา
ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ
ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องล่าง ในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=8449&Z=8691&pagebreak=0


แม้ว่าจะแบ่งแยกอาการแผ่เมตตาเจโตวิมุติได้หลายแบบดังที่กล่าวก็ตาม
แต่การระลึกเจริญเมตตาก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรนะครับ
โดยเราสามารถระลึกแบบรวม ๆ ก็ได้ เช่น ระลึกว่าแผ่เมตตาแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ในทุกภพภูมิ ทุกทิศทาง โดยไม่มีประมาณก็ได้
หรือระลึกแผ่เมตตาตามถ้อยคำปกติที่ใช้ในบทแผ่เมตตาก็ได้ครับ
โดยส่วนที่สำคัญคือใจจะต้องมีเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
โดยไม่มีประมาณ ในทุกทิศทาง ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง


+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +


หมายเหตุ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ศาลาปฏิบัติธรรม อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ได้ทาสีผนังภายนอกศาลาแล้ว และทำฝ้าเพดานภายนอกศาลาเสร็จแล้ว
เริ่มทำงานติดตั้งกระจกหน้าต่างศาลา และดำเนินการปูกระเบื้องพื้นศาลา
เริ่มดำเนินการวาดภาพและตกแต่งผนังด้านหลังพระประธาน
ในส่วนภายนอกศาลานั้น ได้ติดตั้งระบบหอแท็งก์น้ำประปาใกล้เสร็จแล้ว


ทั้งนี้ ตามที่ได้เคยเรียนไว้ว่าก่อนหน้านี้ว่าทีมงานได้เรี่ยไรครบ
จำนวน ๖.๕ ล้านบาทตามประมาณการงบประมาณแล้ว
อย่างไรก็ดี ในระหว่างการก่อสร้างก็มีงานบางอย่างเพิ่มขึ้น และทำให้มีค่าใช้จ่ายบางรายการเพิ่มขึ้น
ซึ่งก็ได้มีญาติธรรมหลายท่านได้กรุณาช่วยทำบุญมาเพิ่มเติม
ผมได้อัพเดทสำเนาสมุดบัญชี รวมทั้งภาพความคืบหน้าต่าง ๆ ในการก่อสร้าง
ไว้ในกระทู้ในเว็บบอร์ดลานธรรมนะครับ


ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามกิจกรรมการจัดค่ายเรียนรู้กายใจสอนธรรมะแก่เด็ก ๆ เยาวชน ได้ที่
http://www.facebook.com/rooguyroojai
และสามารถติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมได้ที่
เชิญร่วมสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ชมรมเรียนรู้กายใจ จังหวัดนครสวรรค์



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP