จากใจ บ.ก.ใกล้ตัว Lite Talk

ฉบับที่ ๑๓๒ โรคชอบด่า



อินเตอร์เน็ตก่อให้เกิด โรคชอบด่าจริงหรือ?


ในเน็ตนี้ ตรงไหนมีที่ให้คุย
ตรงนั้นเจอคำด่าทอได้หมด
และมักเป็นไปในแบบเสียดแทงใจไม่ออมมารยาท
คิดอย่างไรพูดอย่างนั้น


ถ้าคุณไม่ใช่คนชอบด่ากราด
ยังคงนิสัยไม่ชอบทำร้ายจิตใจใคร
สิ่งหนึ่งที่คุณจะมองเห็น คือ
คนในเน็ตเป็นโรคทางใจกันมาก
เหมือนหลายคนติดอาการชอบด่าราวกับเป็นโรคระบาด
เช่น ไม่จำเป็นต้องด่าก็ด่า
รู้จริงไม่รู้จริงด่าไว้ก่อน
ดีก็ด่า ชั่วก็ด่า
อาจจะเพราะด่าเพื่อระบายความเก็บกด
อาจจะด่าคนอื่นเพื่อให้ตัวเองดูดี
อาจจะด่าแล้วดูกลมกลืนกับบรรยากาศ
อาจจะด่าแล้วรู้สึกคึกคักเหมือนคนเมาร่วมกัน
สรุปง่ายๆว่า ทุกคนคุ้นแล้ว ชาชินแล้ว
คำด่ากลายเป็นของเจอะเจอประจำวันกันไปทั้งโลกแล้ว


กรรมใดสั่งสมไว้จนชิน
กรรมนั้นพระพุทธเจ้าตรัสถึงความแน่นอนที่จะให้ผล
ถ้าเคยชินในทางดี ก็เหมือนมีประกันว่าจะเป็นผู้ไปสู่สุคติ
ถ้าชาชินในทางร้าย ก็เหมือนกำตั๋วไปสู่ทุคติไว้แน่นเหนียว


อินเตอร์เน็ตไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดของโรคชอบด่า
ข้อเท็จจริงก็คือ การด่าทอกันนั้น
ทุกคนแอบคิดกันบ่อยๆอยู่แล้ว
ใครจะถี่กว่ากัน ใครจะเข้มข้นกว่ากัน
ใครจะมโนไปในทางประทุษร้ายจริงจังกว่ากัน
ก็ขึ้นอยู่กับทุนทางกุศลหรืออกุศล
อันเป็นฐานจิตฐานใจของแต่ละคน


แต่มายุคไอทีนี้ต่างไป
ตรงที่มีอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางระบายความคิด
แม้อินเตอร์เน็ตไม่ใช่ บ่อเกิดโรคชอบด่า
แต่อินเตอร์เน็ตก็เป็น แหล่งขยายพันธุ์
ตลอดจนเป็น พาหะกระจายโรคระบาดจริงๆ
เนื่องจากการมี พื้นที่ส่วนตัว
ตลอดจนการมีวิธีพูดคุยแบบไม่ต้องเห็นหน้าและรู้จักตัว
จึงกระตุ้นให้กล้าพูดอย่างที่คิด
หรือรับความคิดมาแพร่ต่อได้อย่างเป็นอิสระ
โดยนึกว่าไม่มีใครรู้ว่าเราพูด
หรือกระทั่งนึกว่าไม่ใช้ปากพูดใส่หูคน ก็ไม่น่าจะเป็นกรรม


กรรมนั้นเริ่มด้วยใจเล็งไว้ว่าจะเกื้อกูลหรือประทุษร้าย
ต่อยอดด้วยการ คิดเลือกคำหรือ คิดเลือกประโยค
จบลงด้วยการ พูดอย่างที่คิดหรือ เขียนอย่างที่ตั้งใจ
ผลที่เกิดขึ้นทางจิต เป็นพยานหลักฐานอย่างดีว่า
กรรมเริ่มให้ผลควบคุมทิศทางและความเป็นไปของชีวิตอย่างไร


ด่ามาก จิตใจมืดหม่นมาก
ด่าน้อย จิตใจหม่นหมองน้อย
ติเพื่อก่อแบบรักษาน้ำใจ จิตใจมีสติและคิดเป็นระบบ
ติเพื่อเติมเต็มให้สมบูรณ์ จิตใจเต็มอิ่มกับการช่วยเหลือ


ใจเล็งอย่างไร กรรมเกิดขึ้นอย่างนั้น
ชีวิต จิตวิญญาณ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต สอดคล้องตามนั้น


ดังตฤณ
มิถุนายน ๕๗



alt


ใครที่มีความห่วงใยในบุพการี

และอยากให้ท่านลดละเลิกบางอย่าง
เพื่อความสุขความเจริญของชีวิตท่านเอง
ขอเชิญอ่านแนวทางใน "ดังตฤณวิสัชนา"
ตอน "จะมีวิธีพูดอย่างไรให้คุณพ่อเลิกเหล้า"


การหมั่นเจริญเมตตานั้นมีอานิสงส์นานาประการ
ส่วนการหัดเจริญเมตตาจะกระทำอย่างไรนั้น
คอลัมน์ "จุดหมายปลายธรรม" ตอน "หัดเจริญเมตตา"
ในฉบับนี้ ได้บอกเล่าไว้แล้วค่ะ (^__^)


ปัญหามือที่สามในชีวิตคู่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ไม่เว้นแม้แต่วัยใกล้เกษียณนะคะ
แล้วถ้าหากเกิดเหตุขึ้นแล้ว จะรับมืออย่างไรดี
ลองมาดูกรณีศึกษาใน "โหรา (ไม่) คาใจ"
ตอน "รักเฉไฉ หัวใจตกกระ" ค่ะ




แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP