กระปุกออมสิน Money Literacy

จัดลำดับความสำคัญทางการเงิน จุดเริ่มต้นที่โรงเรียนไม่ได้สอน


Mr.Messenger
สนใจติดตามข่าวสารการลงทุนได้ที่ http://twitter.com/MrMessenger



ทำงานเท่าไหร่ ก็ไม่มีเงินเก็บ
เก็บเงินเท่าไหร่ ก็ไม่เห็นเพิ่มขึ้น
เงินเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ก็ไม่เห็นจะพอ


          ทุกวันนี้ สุขภาพทางการเงินของคุณเป็นอย่างไร เคยลองสังเกตกันบ้างไหมครับ?
รายได้ รายจ่าย = เงินออม
สินทรัพย์ หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ


การมีรายได้สูง แปลว่า มีความมั่นคงทางการเงินสูงหรือไม่?
          คำตอบคือ ไม่ใช่! เพราะ หามาได้เท่าไหร่ ถ้าหมดไปกับสิ่งยั่วยวนข้างทาง ก็มีชีวิตแบบเดือนชนเดือนอยู่ดี


ถ้าอย่างนั้น การมีสินทรัพย์เยอะๆ แปลว่า มีความมั่นคงทางการเงินสูง ใช่ไหม?
          คำตอบก็คือ ไม่ใช่ อีกตามเคย เพราะ ถึงแม้มีสินทรัพย์เยอะ แต่ไปกู้หนี้ยืมสินมา สินทรัพย์นั้นก็ยังเป็นภาระ และสร้างรายจ่ายให้กับเราทุกๆเดือน ไม่ได้สร้างรายได้อะไรให้กับเรา


ถ้าอย่างนั้น มีสินทรัพย์ และไม่มีภาระหนี้ ถึงแปลว่า มีความมั่นคงทางการเงิน ถูกต้องไหม?
          คำตอบก็ยังไม่ใช่อีก เพราะ สินทรัพย์นั้น ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อะไร เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น มือถือ รถยนต์ เครื่องประดับ เสื้อผ้า แสดงว่า อนาคต เรายังต้องออกแรง ใช้ปัญญา ใช้แรงกาย เพื่อไปทำงานแลกเงินอยู่ดี


แล้วความมั่นคงทางการเงินคืออะไร?
          คำตอบคือ สมการนี้ครับ
          รายได้จากสินทรัพย์เพื่อการลงทุน > รายจ่ายต่อเดือน


ดังนั้น หากจัดลำดับแล้ว คนคนหนึ่ง หากต้องการสบายเรื่องการเงินต้องทำอย่างไร ขั้นตอนและลำดับความสำคัญก็จะเป็นตามนี้ครับ
. รายได้ ต้องมากกว่า รายจ่าย เพื่อจะได้มีเงินออม
. อย่าสร้างหนี้ จากความต้องการในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคตมากเกินไป
. เงินออม ส่วนหนึ่ง แบ่งไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน และยามฉุกเฉิน
. เงินออม อีกส่วนหนึ่งต้องแบ่งนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ อย่างต่อเนื่อง


คำถามต่อมาคือ จำเป็นต้องเรียงลำดับ ๑. . . . ตามนี้ไหม?
          ขอตอบด้วยการยกตัวอย่างนะครับ สมมติว่า ผมมีเงินออมแล้ว อยากรวยเร็ว จึงนำเงินออมทั้งหมดที่มีไปลงทุนทันที แต่ปรากฏว่า เหตุการณ์ไม่เป็นอย่างที่คิด มีความต้องการใช้เงินฉุกเฉินขึ้นมา สุดท้าย ต้องไปถอนเงินลงทุนออกมาอยู่ดี ตอนนั้น ขาดทุนอยู่เท่าไหร่ กำไรมีหรือเปล่า ก็คิดไม่ได้แล้ว เพราะต้องใช้เงิน
          หรืออีกตัวอย่าง ผมอยากมีเงินก้อนเร็วๆ เพิ่งรู้จักตลาดหุ้น พอได้เงินเดือนมา ก็โอนเข้าบัญชีหุ้นไปซื้อขายทันที โดดเข้าตลาดหุ้น แบบไม่มีความรู้ แถมไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของเงินให้ดี ตลาดหุ้น ถึงแม้จะสภาพคล่องสูง แต่ก็ความผันผวนสูงเช่นเดียวกัน ไม่ต้องบอกนะครับ ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เพราะจบไม่สวยแน่นอน
          หรือกรณีแย่กว่านั้น สมมติ ทุกวันนี้ รายจ่ายผมยังเยอะกว่ารายได้ แต่อยากรวย ก็เลยไปกู้เงินมาลงทุน ลงทุนก็ยิ่งขาดทุน ดอกเบี้ยจากการกู้ก็มากขึ้น ยิ่งเป็นภาระมากขึ้นไปอีก หาทางออกไม่เจอ นั่นก็เพราะ ผมลืมพื้นฐาน ลำดับความสำคัญข้อที่ ๑. ก็คือ รายได้ ต้องมากกว่า รายจ่าย เพื่อจะได้มีเงินออม ถ้ายังไม่พร้อม ก็ยังไม่ต้องคิดเรื่องลงทุนเลย


          ชาวพุทธเรา เริ่มต้นด้วยการรักษาศีลก่อน เพราะศีลจะเป็นเกราะป้องกันเราในเบื้องต้น จากนั้น ค่อยทำสมาธิ เพื่อเจริญปัญญา ถ้าจะถามว่า เจริญปัญญาก่อน โดยไม่มีศีลได้ไหม ก็ต้องบอกว่า ได้ แต่ลำบากมาก เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ ๕ สูบ (ศีล ๕) ที่ทำงานแค่ ๔ สูบ (รักษาศีลแค่ ๔ ข้อ) ก็ย่อมทำงานไม่เต็มกำลัง กำลังสมาธิก็ต้องน้อยกว่า ผู้ที่รักษาศีลครบ จริงไหมครับ


ทำงานเท่าไหร่ ก็ไม่มีเงินเก็บ
เก็บเงินเท่าไหร่ ก็ไม่เห็นเพิ่มขึ้น
เงินเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ก็ไม่เห็นจะพอ


ปัญหาเหล่านี้จะเบาบางลง และหมดไป ถ้าเราสามารถจัดลำดับความสำคัญทางการเงินได้อย่างถูกต้อง


ทำไปเรื่อยๆนะครับ แล้วระหว่างทาง ก็พยายามถามตัวเองเป็นช่วงๆว่า ทุกวันนี้ สุขภาพทางการเงินของคุณเป็นอย่างไร? ถ้าคำตอบมันดีขึ้นเรื่อยๆ ก็เชื่อว่า อิสรภาพทางการเงิน อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน

 

 



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP