กระปุกออมสิน Money Literacy

ประตูสู่การเริ่มต้นลงทุนเปิดแล้ว


Money Literacy

โดย Mr.Messenger

ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำจังเลย เอาเงินไปทำอะไร??

ถ้าเป็นในช่วงที่เงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยอยู่ประมาณ ๓-% ต่อปี คำถามนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ยิ่งถ้าดอกเบี้ยสูงเกิน ๑๐% ต่อปี เหมือน ๑๐ ปีที่แล้ว ยิ่งสบายเลย ฝากไว้แบบไม่ต้องคิดมาก ถูกไหมครับ

แต่ ณ ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน มีอยู่สองทางเลือกที่เราจะทำได้
) ทำใจ เดี๋ยวดอกเบี้ยมันก็ขึ้นเอง
) หาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า


ถ้าเลือกข้อแรก คำถามต่อมาก็คือ แล้วดอกเบี้ยจะขึ้นจริงหรือ?

ดอกเบี้ยจะขึ้น หรือไม่ขึ้น ไม่สำคัญเท่ากับคำถามที่ว่าไม่ว่าดอกเบี้ยจะสูง หรือต่ำ ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคารอยู่ตลอดเวลาถ้าดอกเบี้ยในตลาดอยู่ที่ ๔% ผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้น ก็จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า ๔% ถ้าดอกเบี้ยในตลาดสูงถึง ๑๐% (ซึ่งเป็นไปได้ยาก) ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ผมยกตัวอย่างนี้ ก็จะให้ผลตอบแทนสูงเกิน ๑๐% เช่นกัน เหมือนๆกับการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันนั้นแหละครับ เราไม่สนใจว่าอารมณ์ หรือสภาวะใดเกิดขึ้นในจิตใจของเรา เราไม่ได้มีหน้าที่ตีมูลค่าสภาวะหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆ แค่เพียงตามรู้ ตามดู ตามความเป็นจริง เพียงเท่านี้ ก็ถือว่าเราได้ดอกผลจากการมีชีวิตอยู่เพิ่มขึ้นจากเดิมไปอีกหนึ่งวันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสภาวะแห่งความทุกข์ หรือความสุข เมื่อเรารู้สึกตัว ก็ถือว่าได้สะสมความสุขที่เหนือกว่าขึ้นไปอีกระดับ เป็นยังไง...น่าสนใจไหมครับ?

มาเข้าเรื่องหาแหล่งลงทุนกันต่อ


แล้วความเสี่ยงล่ะ เงินฝากนี่มี พ.ร.บ.รับประกันเงินฝาก ให้เศรษฐกิจแย่ๆ อย่างน้อยก็ได้เงินต้นคืน เพราะรัฐบาล ยังไงก็ต้องไม่เบี้ยวหนี้เราอยู่แล้ว

คำตอบคือ ผู้รับประกันเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันคือ กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นรัฐบาล แล้วถ้าผมบอกว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าว ก็มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินต้นล่ะ ยังน่าสนใจไหม

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ผมเอ่ยถึงนี้ เราเรียกว่า ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือ พันธบัตรรัฐบาล ซึ่งผู้ออกตราสารนี้ ก็จะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ เช่น กระทรวงการคลัง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

แต่เนื่องจาก หากเราต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรง ต้องใช้เงินจำนวนมาก (ขั้นต่ำต่อครั้งเท่ากับ ๑๐๐,๐๐๐ บาท) ทำให้นักลงทุนรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงการลงทุนประเภทนี้ได้ง่ายนัก ด้วยข้อจำกัดอันนี้ ก็เลยเกิดกองทุนรวม (Mutual Fund) ขึ้นมา...

เราสามารถลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ผ่านทางกองทุนรวมได้ครับ กองทุนรวมก็คือ แหล่งระดมเงินทุน จากนักลงทุนที่ไม่สามารถลงทุนได้เอง เนื่องจากเงินลงทุนน้อย หรือขาดความเชี่ยวชาญในตลาด หลายๆรายมารวมกัน (เลยเรียกว่า Mutual ไงครับ) โดยให้ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) นำเงินส่วนนี้ไปบริหารให้งอกเงยขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการมากมายหลายแห่งที่รับบริหารจัดการกองทุนรวมตราสารหนี้ จึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้สร้างกำไร หรือผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคารได้ โดยกองทุนรวมเหล่านี้ เราสามารถติดต่อผ่านธนาคาร ซึ่งรับเป็นตัวแทนขายให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนนั้นๆอยู่แล้วนะครับ เจ้าหน้าที่สามารถให้คำแนะนำเราได้อีกที ถ้าอยากทราบว่ากองทุนคืออะไร ผลตอบแทนได้รับยังไง เราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของสมาคม http://www.thaimutualfund.com

ปัจจุบันกองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
) กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (Short term Fixed Income Fund) หรือ กองทุนรวมตราสารตลาดเงิน (Money Market Fund หรือ MMF)
) กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว (Long term Fixed Income Fund)
โดยกองทุนรวมตราสารตลาดเงินจะลงทุนในตราสารหนี้ที่อายุไม่เกิน ๑ ปี ส่วน กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว จะลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุเกิน ๑ ปีขึ้นไปครับ

เมื่อแบ่งตามความเสี่ยงแล้วกองทุนรวมตราสารตลาดเงิน หรือ MMF ถือว่าเป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับกองทุนรวมประเภทอื่นทั้งหมดในตลาด และเนื่องจากนักลงทุนสามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ และคิดผลตอบแทนให้เราเป็นรายวัน กองทุนนี้จึงถือเป็นประตูสำหรับมือใหม่ทุกคนที่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น มากกว่าแค่ฝากเงินกับธนาคาร ปัจจุบันในธุรกิจกองทุนรวม กองทุนรวมตราสารตลาดเงินถือว่าเป็นกองงทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาด และยังมีแนวโน้มโตขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจกับการบริหารเงินออม มากกว่าแค่ฝากเงินกับธนาคารครับ

มีคำเตือนนะครับ... ในช่วงแรกของการเริ่มต้นลงทุนจะคล้ายๆกับช่วงแรกของการปฏิบัติธรรมอยู่อย่างหนึ่ง แน่นอนว่าเราจะมีความกลัว ความลังเล และความกังวล ในระหว่างที่ลงทุนไปบ้าง แต่เมื่อเราได้ลงทุนจริง ได้ดูของจริง เราได้ศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการได้ดีขึ้นแล้ว เราจะเริ่มคุ้นเคยกับมันเอง และเมื่อนั้นการต่อยอดการลงทุนก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากแล้วล่ะครับ

อ่านเสร็จก็ไปเปิดบัญชีกองทุนรวมกันเถอะ ผลเป็นยังไง ใครมีคำถามหรือสงสัยอะไร ส่งข่าวมาคุยกันได้ที่ This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it ครับผม



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP